คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)


แนวความคิด :เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางการออนไลน์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน หรือระบบคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ใด ไม่ต้องสนใจเรื่องการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที(IT. Infrastructure)นั้นๆ ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบฟรีเมล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นYahoo MailหรือHot MailหรือGoogle Applicationเป็นต้น


นิยาม :เป็นลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบของการกระจายตามพื้นที่ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบคลัสเตอร์ (Cluster Network)ผ่านการจัดสรรทรัพยากรด้วยเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization)เพื่อให้ตอบสนองงานบริการต่างๆ ให้รองรับกับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีระบบการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการประเภทต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด(Software as a Service – SaaSหรือOn Demand Software - ODS )


แนวโน้มที่สำคัญในการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง:

  • แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก:การสื่อสารอินเทอร์แอคทิฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ2.0ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซต์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย
  • ความต้องการประหยัดพลังงาน: องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดโดยบริษัท อินโฟ-เทค รีเสิร์ชกรุ๊ป พบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
  • ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร: ด้วยการแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างขององค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง          
    • ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน:ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตามสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยากด้วยเหตุดังกล่าวผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งเพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service)เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ที่มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัดแทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอโดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรดเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่นในอดีต
    • การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น :ทุกวันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆมากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบันเราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมายแต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละวันโดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้นหากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดีการนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรคุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์ คอมพิวติ้งก็คือความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้เป็นระบบซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำกว่าเดิมด้วยความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ถือได้ว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร



    ลักษณะเด่น:

    • Capital Expenditure :ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
    • Device and location independence:ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ได้หลายรูปแบบ (คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่) แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้เลย
    • Multi-tenancy:กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานในคลาวด์คอมพิวติ้ง
    • Sustainability :สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ(Performance) ในการใช้งาน หรือประหยัดการใช้งานทรัพยากรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล
    • Continuity :ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งทำให้ตัวเองกลายเป็นระบบการทำงานต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะล่มไปบ้าง
    • Scalability :รองรับการขยายตัวของระบบได้ง่าย เพื่อรองรับปริมาณและความต้องการของผู้รับบริการ
    • Security :มีระบบการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจในการใช้งาน
    • Maintainability :สามารถปรับปรุงระบบหรือซ่อมแซมได้ง่าย เพราะใช้จัดการจากส่วนกลางทั้งหมด

      • ส่วนประกอบ:

        • Client :อุปกรณ์สำหรับเข้าใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่นMobile, Thin Client
        • Services :บริการต่างๆ ที่เปิดให้บริการบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่นWeb Service
        • Application :บริการSoftwareต่างๆ ที่เปิดให้ใช้งานบนคลาวด์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงSoftware ไว้บนเครื่องของตัวเอง อาจมีการใช้งานรวมกับServicesด้วย
        • Infrastructure :โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับกับระบบคลาวด์ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซซั่น
        • Platform :เลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งาน โดยอาจจะเลือกจากOpen SourceหรือOpen Systemที่มีหลากหลายในท้องตลาด
        • Storage :เป็นปัจจัยหลักในการให้บริการ โดยอาจจะให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือรวมไปถึงการบริการด้านระบบฐานข้อมูลด้วย
        • Standard :ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นระบบที่สร้างจากOpen SourceหรือOpen System เป็นหลัก ควรเลือกStandardต่างๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายได้ง่าย

      ผู้เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง จำแนกตามบทบาทหน้าที่:

      • Provider (ผู้ให้บริการ) :ผู้ดูแลและจัดการระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า รวมถึงคาดเดาความต้องการต่างๆ ในอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ตัวอย่างเช่นamazon.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งรายแรก โดยมีจุดเด่นที่ระบบมีความง่ายและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว และเก็บค่าใช้งานตามจริง
      • User (ผู้ที่เข้ามาให้การบริการ):เป็นผู้เช่าใช้ระบบอย่างเดียว ไม่ต้องกำหนดหรือวางแผนเรื่องการลงทุนด้านทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลทรัพยากร เพียงวางแผนและจัดสรรการใช้งานให้เพียงพอกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องไอทีได้มาก
      • Vendor (เจ้าของผลิตภัณฑ์):ผู้ที่จำหน่ายระบบโครงสร้างต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคลาวด์คอมพิวติ้งโดยเฉพาะ เช่น
      - Computer Hardwareเช่นDell, HP, IBM, SUN Microsystems
      - Storageเช่นSUN Microsystems, EMC, IBM
      - Network Infrastructureเช่นCISCO System
      - Computer Softwareเช่น3tera, Hadoop, Q-layer
      - Operating Systemเช่นSolaris, Linux, AIX
      - Platform Virtualizationเช่นSUN xVM, Citrix, VMware, Microsoft
      สถาปัตยกรรมโดยสรุป:หลักสำคัญคือการนำเอาซอฟต์แวร์ระบบที่รองรับการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งโดยอาศัยฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์มาทำงานร่วมกันให้บริการผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถรองรับความต้องการและปริมาณของผู้ใช้งานจำนวนมากๆ ได้ในเวลาเดียวกัน และในทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลา
      คลาวด์คอมพิวติ้ง กับบริการของธรรมนิติ:ระบบสารสนเทศด้านต่างๆ ที่มีในองค์กรธุรกิจทั่วไป ได้แก่
      -ระบบสารสนเทศด้านบัญชี
      -ระบบสารสนเทศด้านการเงิน
      -ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
      -ระบบสารสนเทศด้านการผลิต
      -ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
      -ระบบสารสนเทศอื่นๆ
      ตัวอย่าง:ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System - HRIS)
      -ระบบงานวางแผนกำลังคน(Man Power Planning)
      - ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database)
      - ระบบการตรวจสอบเวลา(Time Attendance)
      - ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll)
      - ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน(Performance Evaluation)
      - ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development)
      - ระบบงานสวัสดิการต่างๆ(Welfare)
      - ระบบการสรรหาบุคลากร(Recruitment)
      - ฯลฯ

      จริงๆแล้วมันยังเป็นคำที่Defineไม่เสร็จ เพราะคนแรกที่พูดว่าCloudก็อธิบายกว้างๆ คนต่อๆไปก็เข้าใจคำว่าCloudไปหลากหลาย
      คำว่า "คลาวด์" มีความหมายไม่เหมือนกันซักคน แต่เท่าที่ผมเข้าใจคือ
      เมฆ รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดไม่แน่นอน ที่อยู่ไม่แน่นอน
      เรามีServer/Storage/CPUเป็นเมฆ คือเราแค่รู้ว่ามันมี เห็นว่ามีมากพอก็จะทำอะไร จะใส่อะไรก็ได้ ไม่ต้องรู้ว่ามีเมฆมากแค่ไหนไม่ต้องรู้ว่ามันอยู่ตรงมุมไหนของโลก เพราะเมฆกระจายอยู่ทั่วโลก
      นั่นคือ การทำคลาวด์ คือการที่มีการให้บริการอะไรก็ตามเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เราไม่รู้ และไม่ต้องรู้ ไม่ต้องสนใจ ว่าอะไรจะอยู่ไหน เท่าไหร่เพราะมันจะกระจายกันอยู่ทั่วโลก
      เราต้องการเนื้อที่ซัก1 GBมันก็จะไปกระจายเองว่าจะอยู่ที่ไหนบ้าง อาจจะอยู่ซัก 15ประเทศ ประเทศละ100 MB
      หรือถ้าเราต้องการCPUซัก256 coreก็อาจจะมี cpu 16 coreอยู่ 16ประเทศกระจายกันทำงานให้เรา

      หรือถ้าสมมุติ วันนี้ศูนย์คลาวด์ประเทศไทยล่ม อาจจะมีการย้ายงานไปที่อีกศูนย์นึงให้ทำงานแทน โดยผู้ใช้งานหรือลูกค้าไม่ต้องรู้เรื่องอะไร แค่เปิดมาดู อ้าว โปรแกรมล่มไปเปิดใหม่ โอเคใช้ได้แล้ว อะไรประมาณนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น